ทำเว็บและออกแบบระบบจ่ายเงิน (Checkout)
อย่างไรให้เกิด Conversion rate สูงๆ
การที่ทำเว็บไซต์ให้มี Traffic เข้ามาเยอะๆ ไม่ได้หมายความว่าจะมี Conversion Rate เยอะเสมอไป บางคนอาจจะแค่คลิกเข้ามาดูแล้วก็ออกไป ไม่ได้สนใจจะซื้อของ ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเลยสำหรับธุรกิจ Ecommerce ทำให้เสียค่า Ads Spending ไปโดยปล่าวประโยชน์ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า Traffic ที่เข้ามา จะสามารถสร้าง Conversion ได้มากแค่ไหน
วิธีการก็ไม่ยากเลย โดยสามารถดูได้จาก
- Bounce rates หรือ อัตราคนที่คลิกเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์แล้วกดออกโดยทันที
- Shopping cart abandonment rates หรือ อัตราที่ลูกค้าได้เพิ่มสินค้าไปในตะกร้าสินค้า แต่ยังไม่สั่งซื้อ
หากเช็คแล้วพบว่าตัวเลขทั้งสองอย่างมีมาก นั่นก็หมายความว่า การตลาด (Marketing Strategy) ของคุณกำลังมีปัญหา ซึ่งปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือการทำเว็บไซต์ (Website Design) เมื่อพบปัญหาแบบนี้พ่อค้าแม่ค้า (Vendor) ทั้งหลายก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่ามันเกิดจากอะไร หลายๆ คนอาจมองว่าปัญหานั้น เกิดมาจากการที่สินค้าในเว็ปไซต์ไม่ดี หรือไม่ถูกใจลูกค้า แต่จากการสำรวจพบว่า จริงๆ แล้วปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากการทำเว็บไซต์ (Website Design) ลูกค้า (Customer) ส่วนมากชอบความเรียบง่าย ต้องทำเว็บไซต์ออกมาให้ดูสะอาดตา ไม่รก ใช้งานง่าย โดยเฉพาะขั้นตอนการสั่งซื้อยิ่งง่ายเเละเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะคนยุคนี้ต้องได้ของที่อยากได้ในทันทีเท่านั้น
หากท่านใดมีปัญหากับการทำเว็บไซต์ (Website Design) ลองติดต่อมาหาเราได้ บริษัท ฮัลโหลแอดส์ จำกัด ยินดีให้คำปรึกษา (HelloAds Co., Ltd. รับทำเว็บไซต์ สนใจติดต่อหลังไมค์ให้คำปรึกษาฟรี)
มาดูกันว่าจะทำเว็บไซต์ (Website Design)
อย่างไรให้เกิด Conversion Rate สูงๆ
1. ใส่ปุ่ม “สั่งซื้อ” หรือ “Checkout” หลายๆ ที่
หลังจากที่ลูกค้าได้เอาของใส่ในรถเข็น (Shopping Cart) และตัดสินใจที่จะซื้อเเล้ว คุณควรทำปุ่ม “ซื้อสินค้า” ให้เห็นชัดเจน เพราะถ้าปุ่มกดสั่งซื้อ หายาก ความอยากซื้อของลูกค้า (Customer) จะลดลงไปด้วย
เราเข้าใจดีว่าผู้ขายหลายๆ เจ้า (Vendor) ก็อยากให้ลูกค้า (Customer) ช้อปสินค้าอื่นๆ ต่อ เลยทำเว็บให้มีปุ่มกลับไป Shopping ต่อเมื่อลูกค้าเลือกสินค้าลงตระกล้าแล้ว แต่จะดีกว่าไหมถ้าลูกค้าซื้อของชิ้นนั้นเลย เพราะบางครั้งการที่ลูกค้าออกจากหน้าสั่งซื้อไปเลือกชมสินค้าชนิดอื่นๆ เขาอาจจะเลิกสนใจซื้อเเละปล่อยสินค้าชิ้นนั้นไว้ในตระกร้าเฉยๆ จนกลายเป็นตระกร้าร้างก็เป็นได้ เพราะจะทำให้เกิดการตัดสินใจในการซื้อสินค้า หรือ การเปรียบเทียบตัวสินค้ากับราคา มากขึ้นกว่าเดิม หากต้องการให้ลูกค้าซื้อของเพิ่มอาจวาง ปุ่มสำหรับกลับไปเลือกสินค้าต่อ หรือ Shopping more ไว้หลังจากที่มีการทำคำสั่งซื้อเสร็จสิ้นแล้ว
สำหรับการวางปุ่ม “ซื้อสินค้า” ควรวางให้โดดเด่นและง่ายต่อการมองเห็น จะใส่ไว้ทั้งด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์และด้านล่างสุดก็ได้ เมื่อลูกค้าเลื่อนลงมาดูจะได้เห็นอีกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นความอยากซื้อ
ลองดูตัวอย่างจาก ebay ข้างล่างนี้
2. สร้างความมั่นใจด้วยการการันตีความปลอดภัยบนหน้าสั่งซื้อ
ความปลอดภัย (Security) ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (Ecommerce) คือสิ่งแรกที่ลูกค้าคำนึงถึง แน่นอนใครก็กลัวว่าจะถูกโกงกันทั้งนั้น ถ้าทำเว็บไซต์ออกมาแล้วดูไม่น่าเชื่อถือ รับรองเลยว่าลูกค้าจะไม่ซื้อของจากเว็บโซต์ของคุณ Conversion Rate ก็ย่อมหายไปด้วย
มีรายงานสถิติเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาระบุว่า 46% ของคนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาโดนโกงบัตรเครดิต ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากทีเดียว ทำให้หลายคนตื่นกลัวกับการซื้อของออนไลน์ (Omline Shopping) เพราะกลัวจะโดนโกงไปตามๆ กัน
ดังนั้น บนเว็บไซต์ของคุณควรจะมีเครื่องหมายการันตีความปลอดภัย (Security Guarantee) อย่างเช่น Norton หรือ McAfee เพื่อให้ลูกค้าของคุณได้อุ่นใจ และเชื่อมั่นว่าจะไม่โดนโกงแน่นอน
3. เรียก Conversion ด้วยค่าขนส่งถูก หรือส่งฟรีไปเลย
“ค่าส่งก็ให้ลูกค้าจ่ายไปสิ ลูกค้ายอมจ่ายอยู่เเล้วถ้าของถึงบ้านเค้า”
เชื่อว่าผู้ขาย (Vendor) หลายๆ คนก็คิดแบบนี้ใช่มั้ยล่ะ แต่รู้หรือเปล่าว่ามันเป็นวิธีที่ผิดมหันต์ ลูกค้าไม่ได้อยากจ่ายเสมอไป และยิ่งเป็นสินค้าที่มีคู่แข่งแล้ว มีทางเลือกมากมาย ก็ยิ่งลืมเรื่องการขายไปได้เลย ลองดูสถิติด้านล่างกัน ว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้ลูกค้าไม่กดสั่งซื้อต่อ หลังจากที่เพิ่มสินค้าลงในตระกร้า

จากภาพด้านบนที่แสดงปัจจัยที่เป็นปัญหาสำหรับการสั่งสินค้าแบบ ecommerce จะเห็นได้ว่า เพราะ “ค่าส่งแพง” นั้นมาเป็นอันดับหนึ่ง “การไม่มีนโยบายส่งฟรี” ก็เป็นสาเหตุหลัก เเละอีกเหตุผลนึงเลยคือ “ไม่ได้รู้ตั้งเเต่เเรกว่าจะมีค่าส่ง” เห็นหรือยังว่าการที่ “มีค่าส่ง (Shipping fee)” ทำให้เกิดผลเสียต่อรายได้ และ Conversion มากแค่ไหน ฉะนั้นช่วยค่าส่ง ให้ลูกค้าด้วยนะ
เเล้วอย่างนี้จะมีกำไรได้ยังไงล่ะ? ค่าส่งไม่ใช่ถูกๆ นะ บางคนอยู่ต่างจังหวัดอีกต่างหาก
มันมีทางออกเสมอ หลายท่านคงพอนึกออกแล้วว่าจะทำแผนการตลาด (Marketing Strategy) อย่างไร ง่ายๆ ลองบวกราคาสินค้าเพิ่มเข้าไปนิดหน่อย ลูกค้าจะยอมจ่ายเมื่อเค้าเห็นว่าราคาสินค้าที่เห็นตั้งเเต่หน้าเเรก จนถึงหน้าสั่งซื้อสุดท้ายเป็นราคาเดียวกัน มากกว่าการที่หน้าเเรกราคานึงและหน้าสุดท้ายอีกราคานึง เมื่อบวกภาษี บวกค่าส่งเข้าไป ราคาสินค้าต่างกับเจ้าอื่นนิดหน่อย แต่ฟรีค่าส่ง ก็น่าดึงดูด และเรียก Conversion ได้ไม่น้อย
เเต่ไม่ใช่ว่าส่งอะไรก็ฟรีไปหมดนะ อย่างขนส่งเปียโนหนึ่งหลัง หรือตู้เย็นภายในวันเดียวเเบบนี้ก็สมเหตุสมผลที่จะเก็บค่าส่งอีกอย่างที่เก็บได้คือ ถ้าลูกค้าขอให้ส่งเเบบเร่งด่วน กรณีนี้สามารถเก็บได้เพราะลูกค้าสมัครใจที่จะจ่าย
4. ลดจำนวนคำถามในแบบฟอร์ม
เวลาที่ลูกค้าเข้ามาหน้าเว็บไซต์ของเราคือเขาคิดมาเเล้วว่าเขาอยากได้อะไร เเละต้องการซื้ออะไร ฉะนั้นเราควรทำเว็บของเราให้มีขั้นตอนทุกอย่างง่าย เเละจบการขายโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ถ้าเว็บไซต์ของเรามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และใช้เวลานาน จะทำให้โอกาสการเกิด conversion ลดลง
ลองคิดดูดีๆ ว่าเราต้องการข้อมูลอะไรจากลูกค้าบ้าง เอาที่จำเป็นเท่านั้นนะ อย่างเช่น ชื่อ เบอร์โทรติดต่อ อีเมล์ และที่อยู่ เพื่อใช้ในการจัดส่ง อีกอย่างคือถ้าเขากรอกไปเเล้วไม่ควรมีคำถามเดิมให้กรอกซ้ำสอง ในกรณีที่ชื่อผู้สั่งสินค้าเเละผู้รับสินค้าคือคนเดียวกันก็ควรจะมีปุ่มให้เลือกว่าเป็นคนเดียวกัน เพราะลูกค้าจะคิดว่าเสียเวลา ถ้าต้องกรอกอีกรอบเเละอาจจะไม่ซื้อของเลยก็ได้
5. ให้ลูกค้าเลือกได้ว่าจะใช้วิธีการสั่งซื้อแบบไหน
เชื่อว่าทุกธุรกิจต้องการมีฐานข้อมูลของลูกค้ากันทั้งนั้น เพื่อจะได้เอาไปทำการตลาดอื่นๆ ต่อไปได้จริงๆ การทำ Customer Profiles ก็มีประโยชน์ต่อลูกค้าเหมือนกัน อย่างเช่น สามารถเซฟข้อมูล Payment method ของลูกค้าเอาไว้ ทำให้การซื้อครั้งหน้าไม่ต้องเสียเวลากรอกเลขบัตรเครดิต และสถานที่จัดส่ง หรือข้อมูลอื่นๆ บางเจ้าลูกค้าสามารถเข้าไปใน Profile ของตัวเองเเล้วกดสั่งซื่อของที่เคยซื้อได้เลย ทำให้ง่ายต่อการเกิด Conversion แต่บางครั้งการที่คุณจะตั้งกฎให้ลูกค้าทุกคนต้องสร้าง Customer Profile ขึ้นมา ถึงจะสามารถซื้อของได้ ก็อาจทำให้เกิดความคิดในเชิงลบ ทั้งในด้านความยุ่งยาก หรือในการคำนึงถึงความเป็นส่วนตัว (Privacy Concerns) ดังนั้นการสร้างแบบฟอร์มให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย หรือเลือกความยาวของแบบฟอร์มให้เหมาะกับตัวสินค้าก็ช่วยได้มากเช่นกัน
ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างวิธีการสั่งซื้อที่ Walmart เสนอให้กับลูกค้า โดยลูกค้าสามารถ Sign In เพื่อซื้อ หรือไม่จำเป็นต้องมี account กับเว็บของ Walmart ก็ซื้อได้เช่นกัน
6. ทำเว็บไซต์ให้ง่ายต่อการช้อปบนมือถือ (Reponsive Website for Smart Phone)
สถิติรายงานว่าตลอดหกเดือนที่ผ่านมานี้ 62% ของคนที่มี Smart Phone จะใช้มันในการซื้อของ ซึ่งเป็นอัตราส่วนมากกว่าครึ่งนึง ของคนที่มีโทรศัพท์มือถือเชียวนะ ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (ecommerce) ไม่ควรมองข้ามความจริงข้อนี้เด็ดขาด
เนื่องจากว่า คนเราพก Smart Phone ติดตัวอยู่ตลอดเวลา คงไม่มีคนไหนเเบก PC หรือ Notebook ติดตัว เเล้วเอาออกมาใช้เพื่อสั่งซื้อของเพียงเล็กน้อย เราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างเร่งรีบ การมี Smart Phone ก็สามารถทำเเทนทุกอย่างได้แล้ว การซื้อของก็เช่นกัน เราไม่มีเวลาออกไปเดินเลือกของที่ห้าง หลายคนใช้วิธีการเสิร์ช (Seaching) สินค้าที่สามารถซื้อบน Smart Phone ก่อนเป็นอันดับแรก
ฉะนั้นทำเว็บไซต์ (Website) ให้มีการใช้งานที่ง่ายบนมือถือ หรือที่เรียกว่า Mobile-friendly
สถิติรายงานว่า 67% ของลูกค้ามีเเนวโน้มจะซื้อของมากขึ้นถ้าเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (ecommerce) ที่เป็นแบบ Mobile-friendly ในขณะที่อีก 71% บอกว่าจะกลับมาซื้อซ้ำอีกเพราะใช่งานง่ายสบายตา และอีกทั้งโฆษณาที่ใช้เพื่อเรียก Conversion ก็สามารถปล่อยโดยเจาะจงไปที่ผู้ใช้ Smart Phone ได้อีกด้วย
7. การทำ A/B test ที่หน้าสั่งซื้อสินค้า
หากอยากรู้ว่าสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจะทำได้ผลหรือไม่ก็มีอยู่วิธีเดียวคือ Test Test Test! เราจะเรียกมันว่า A/B Test
จุดประสงค์ของการทำ A/B Test คือ เราอยากจะ Test จุดไหนบนหน้าเว็บไซต์ก็ได้ ซึ่งวิธีการตรวจสอบก็คือ วัดจาก conversion ที่เกิดขึ้น โดยเราต้องทำหน้าเพจที่จะตรวจสอบไว้หลายแบบ และอาจจะเปลี่ยนตัวแปร ด้วยรูปแบบของปุ่ม/ ขนาด/ สี/ ตำแหน่ง ก็ได้ และมาวิเคราะห์จากตัวเลข conversion ว่าแบบไหนทำตัวเลขได้ดีกว่ากัน
บอกก่อนว่า Test เเค่อย่างใดอย่างนึงในแต่ละครั้งนะ เช่น อยาก Test ว่าลูกค้าอยากกดปุ่มแบบไหนมากกว่ากัน ระหว่างปุ่มสีเเดงหรือส้ม หรืออยาก Test ว่าลูกค้าจะกดปุ่มไหนมากกว่ากัน ระหว่างคำว่า “สั่งสินค้า” กับ “ซื้อสินค้า” หรือ ตำแหน่งการวางตระกร้าสินค้าบนเว็บไซต์ ว่าอยู่ฝั่งซ้ายหรือขวาจะทำให้ conversion มากกว่ากัน เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ชัดเจนและไม่คลุมเคลือ
8. มีวิธีการจ่ายเงินให้เลือกหลายวิธี
สิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนการสั่งซื่อสินค้า คือ ช่วงชำระเงิน เพราะเราจะได้เงินจากลูกค้าก็จากขั้นตอนนี้เลย
เรารู้ว่าผู้ขาย (Vendor) หลายเจ้าอยากจะให้ลูกค้าจ่ายด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น หากไม่เป็น Visa ก็เป็น Mastercard เพราะผู้ขายจะสามารถควบคุมค่า transaction fees ได้ แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทางเลือกการจ่ายเงินให้กับลูกค้าหลายๆ ทาง อย่างเช่น จ่ายโดย PayPal จ่ายโดย Apple Pay หรือแม้กระทั่ง การชำระเงินปลายทาง เพราะ Conversion นั้นสามารถเกิดได้กับลูกค้าหลายกลุ่มตามประเภทของสินค้าและบริการ ซึ่งลูกค้าก็จะสะดวกกับการจ่ายเงินที่แตกต่างกันออกไปด้วย
บทสรุปการทำเว็บและ
ออกแบบระบบจ่ายเงิน (Checkout)
อย่างไรให้เกิด Conversion Rates สูงๆ
คงไม่มีผู้ขายคนไหน ที่ต้องการจ่ายค่าโฆษณา (Ads Spending) เพื่อเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (Website Ecommerce) ไปกับ traffic ที่ไม่ทำให้เกิดยอดขายหรอกจริงไหม วิธีการที่จะทำเว็บให้ผู้เยี่ยมชมเปลี่ยนใจเป็นลูกค้าและกระตุ้นให้เกิด conversion อันดับเเรกเลยคือ ทำเว็บไซต์ของเราให้มีเครื่องหมายรับรองความปลอดภัยอย่าง Norton เพื่อให้ลูกค้าได้ช้อปปิ้งอย่างสบายใจ สองเว็บไซต์ของคุณควรจะเป็นแบบ Mobile-friendly เน้นความสะอาดตา ใช้งานง่าย สะดวก ประหยัดเวลา เพราะคนส่วนใหญ่ใช้ Smart phone ซื้อของมากกว่า PC สามกระตุ้นให้คนซื้อของในเว็บไซต์ของเราด้วย การส่งฟรี! ลูกค้ายินดีที่จะซื้อของในราคาเเพงที่รวมไว้ในราคาของสินค้าตั้งเเต่แรก ดีกว่ามารู้ทีหลังว่าราคาสินค้านี้ยังไม่รวมค่าส่งกับภาษี สี่ทำเว็บให้มีปุ่มสั่งซื้อที่เห็นง่ายๆ มีหลายที่ ก็สำคัญ เพราะบางทีลูกค้าต้องการของอยู่เเล้วเเละต้องการแบบด่วน เราต้องทำให้ง่าย ลดขั้นตอนเข้าไว้ เพื่อช่วยกระตุ้นให้กดสั่งซื้อเร็วขึ้นด้วย ห้ามีการจ่ายเงินหลากหลายวิธีให้เลือกทำให้ตัดปัญหาในใจของลูกค้าว่าจ่ายเงินเเบบนี้ได้มั้ยนะ เพราะถ้าเขาหาวิธีการจ่ายที่เขาชอบในเว็บเราไม่ได้ เขาก็จะไปที่เว็ปไซต์ (Website) เจ้าอื่นเเทน และท้ายสุดคือต้อง Test ว่าจะเวิร์คมั้ยด้วยการทำ A/B Test เพราะการ Test จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าแบบไหนถึงจะได้ conversion ดีที่สุด ซึ่งทั้งนี้ควรใช้ผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการทำเว็บที่จะสามารถวิเคราะห์ผลลัพธ์ได้อย่างแม่นยำ
สุดท้ายนี้ทั้งหมดที่กล่าวมา จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าทำเว็บไซต์แล้วไม่มี Traffic เข้ามา เเล้วต้องทำอย่างไรถึงจะเกิด Traffic ล่ะ คำตอบก็คือ การโฆษณา (Advertising) ออกไปให้คนอื่นๆ ได้รู้จักเรา หรือการสร้าง Brand Awareness ยังไงล่ะ!
ขอโฆษณาไว้ ณ ตรงนี้ หากใครไม่รู้ว่าจะทำเว็บยังไง สามารถปรึกษาพวกเรา HelloAds ได้ฟรีพวกเรา รับทำ Marketing Online, รับทำ SEO, รับทำเว็บไซต์, รับทำ AdWords, Facebook Marketing เราเป็น Startup จึงราคาไม่แพง Friendly ม๊ากๆ