ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Influencer marketing คือกลยุทธ์การตลาดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะไม่ได้เพียงแค่โปรโมตสินค้าหรือบริการให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก แต่ยังช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
อิทธิพลของกลุ่มที่มีผู้ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นนักร้อง นักแสดง ไอดอล หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จึงเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้หลายแบรนด์หันมาเลือกใช้กลยุทธ์ Influencer Marketing ในการโปรโมตมากขึ้น
แต่รู้หรือไม่? ผู้มีอิทธิพลทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ได้ถูกจัดเป็น Influencer ทั้งหมด แต่มี KOLs รวมอยู่ด้วย สงสัยแล้วใช่ไหมว่า 2 คำนี้ แตกต่างกันอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้ว ตามมาอ่านกันเลย
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
Toggleเข้าใจความต่างระหว่าง Influencer และ KOLs คีย์เวิร์ดสำคัญ สำหรับการทำ Influencer Marketing อย่างมีประสิทธิภาพ
หลายคนอาจจะเข้าใจว่า ใครก็ตามที่มียอดฟอลและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ จะถูกเรียกว่า Influencer ทั้งหมด แต่ความจริงแล้ว ผู้มีอิทธิพลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Influencer และ KOLs
Influencer คือ ผู้ที่มีอิทธิพลที่ทำคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Instagram, Facebook หรือ YouTube เป็นต้น และมีผู้คนสนใจเป็นจำนวนหนึ่ง ทำให้เกิดการติดตามและนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ ซึ่งยิ่งอินฟลูเอนเซอร์มีผู้ติดตามมากเท่าใด ก็ยิ่งมีอิทธิพลมากเท่านั้น
นอกจากนี้ Influencer ยังสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามจำนวนผู้ติดตาม ได้แก่ Nano Influencer (อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000 – 10,000 คน), Micro Influencer (อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 10,001 – 50,000 คน), Mid-Tier Influencer (อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 50,001 – 500,000 คน), Macro Influencer (อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 500,001 คนไปจนถึง 1 ล้านคน) และ Mega Influencer (อินฟลูเอนเซอร์ที่รู้จักกันทั่วไปในสังคม มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนขึ้นไป)
ส่วน KOLs หรือ Key Opinion Leaders คือ ผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิด สามารถชี้นำผู้อื่นได้ ซึ่งในทางการตลาดหมายถึง กลุ่มคนที่มีบทบาทในการทำให้กลุ่มคนจำนวนหนึ่งไปจนถึงกลุ่มคนจำนวนมาก เชื่อถือเเละเกิดการคล้อยตามได้ หรือถือได้ว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม
ถึงแม้ว่าทั้งสองคำนี้จะมีความหมายคล้ายกันมาก แต่ก็ยังมีความแตกต่างเล็กๆ นั่นก็คือ KOLs จะมีความโดดเด่นหรือเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่า จนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เมื่อพูดถึงเรื่องนั้นๆ คนทั่วไปจะนึกถึง KOLs เหล่านั้นขึ้นมาทันที ทั้งนี้ทั้งนั้นในหนึ่งคน ก็สามารถเป็นได้ทั้ง Influencer และ KOLs
ดังนั้น หากแบรนด์เข้าใจความแตกต่างนี้ แคมเปญการโฆษณาจะได้ผลลัพธ์ที่ดี จากการเลือกผู้มีอิทธิพลที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Brand Awareness การสร้าง Trust การเพิ่ม Engagement หรือการกระตุ้นยอดขาย
แนะนำเคล็ดลับในการเลือกใช้ Influencer และ KOLs ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการทำ Influencer Marketing
เพราะความหมายที่ใกล้เคียงกันของ Influencer และ KOLs หลายแบรนด์จึงมักประสบปัญหาในการเลือกใช้คน เพื่อโปรโมตสินค้าหรือบริการให้ตรงตามจุดประสงค์ของการตลาด
วันนี้ HelloAds เลยจะมาแนะนำ ‘How to เลือก Influencer หรือ KOLs ให้แคมเปญโฆษณาออกมาปังที่สุด’
แต่ก่อนอื่นเลย ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่า คอนเทนต์ที่นำเสนอโดย Influencer จะเป็นคอนเทนต์แนวไลฟ์สไตล์ ซึ่งมีการสื่อสารกับผู้ที่ติดตามหลากหลายหัวข้อ ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนั้น หากแบรนด์เลือกใช้ Influencer คอนเทนต์ที่ออกมาจะสามารถสื่อสารได้หลากหลายรูปแบบกว่า จากความคิดสร้างสรรค์ของ Influencer ที่เลือกใช้งาน
ส่วนคอนเทนต์ที่นำเสนอโดย KOLs จะเป็นคอนเทนต์ที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง ทำให้สื่อสารได้หลากหลายน้อยกว่า Influencer แต่ เพราะจะได้รับข้อมูลเชิงลึกมากกว่า ดังนั้น หากแบรนด์ต้องการสื่อสารแบบเฉพาะเจาะจง การเลือกใช้ KOLs ในการโปรโมตจะมีประสิทธิภาพมากกว่า
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด คือ แบรนด์ต้องเข้าใจก่อนว่า แบรนด์ของเราขายสินค้าหรือบริการเกี่ยวกับอะไร เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายแบบไหน และสินค้าหรือบริการมีคุณประโยชน์อย่างไร จึงจะสามารถเลือกใช้บรรดาผู้มีอิทธิพลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้กันแล้ว เรามาดู 4 วิธีในการเลือก Influencer และ KOLs ให้เป๊ะปังกันเลย
- เลือกจากไลฟ์สไตล์ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ เพราะการเลือก Influencer และ KOLs ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายจะทำให้สินค้ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
- เลือกแพลตฟอร์มในการโปรโมตที่เหมาะสม เพราะหากเลือกแพลตฟอร์มที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย จุดมุ่งหมายของแคมเปญการตลาดอาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรงตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้
มาดูกันดีกว่าว่าแต่ละแพลตฟอร์มเหมาะกับคอนเทนต์รีวิวแบบใดบ้าง
- Facebook เหมาะกับคอนเทนต์ที่มีภาพจำนวนหนึ่ง พร้อมแคปชันที่เข้าใจง่าย เน้นให้คนแชร์ต่อ
- Instagram เหมาะกับคอนเทนต์ที่มีภาพสวยๆ เล่าเรื่องได้จากภาพ และสามารถแสดงความเป็นตัวตนของแบรนด์ผ่านภาพได้
- Twitter เหมาะกับคอนเทนต์สั้นๆ แต่มีความจริงใจน่าเชื่อถือ
- Youtube เหมาะกับคอนเทนต์วิดีโอที่ให้ความรู้เชิงลึก หรือคอนเทนต์เอนเตอร์เทนที่มีการเล่าเรื่องราว ซึ่งสามารถ Tie-in สินค้าเข้าไปได้
- TikTok เหมาะกับคอนเทนต์วิดีโอสั้นที่ให้ความรู้หรือเอนเทอร์เทนผู้คน
- เลือกจากยอด Engagement และยอด Views ที่เหมาะสม เพราะแบรนด์ต้องเข้าใจว่ายอดผู้ติดตามของ Influencer และ KOLs เพียงอย่างเดียวไม่สามารถการันตีได้ว่าการโปรโมตสินค้าหรือบริการจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เป็นยอด Engagement เพราะถึงแม้ว่าจะมียอดผู้ติดตามเยอะ แต่ถ้ามียอด Engagement ต่ำ การดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายซื้อสินค้าหรือบริการก็อาจเป็นไปได้ยาก ด้วยเหตุนี้ แบรนด์จึงจะต้องมีการตรวจสอบยอด Engagement และยอด Views ให้ดีก่อน
- เลือกจากลักษณะการนำเสนอคอนเทนต์ของ Influencer และ KOLs เพราะสไตล์การทำคอนเทนต์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากแบรนด์เลือกลักษณะการนำเสนอของคอนเทนต์ที่ไม่ตรงกับความชอบของกลุ่มเป้าหมาย ก็อาจทำให้การโปรโมตสินค้าหรือบริการได้รับผลตอบรับที่ไม่ดี เช่น การเลือก Influencer หรือ KOLs ที่มักทำคอนเทนต์แบบเป็นกันเอง มาทำรีวิวสินค้าหรือบริการแบบวิชาการ ผู้ที่ดูอาจจะรู้สึกว่าไม่มีความเป็นธรรมชาติและรู้สึกว่าเป็นการขายของมากเกินไป
เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเลือก Influencer และ KOLs ให้เหมาะสมกับแบรนด์ได้อย่างง่ายดาย แน่นอนว่า การเลือก Influencer และ KOLs ที่ช่วยให้ผลลัพธ์ทางการตลาดที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ดังนั้น HelloAds จึงมีบริการ Influencer Marketing ซึ่งช่วยคัดเลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้ตรงกับความต้องการของแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยผู้เชี่ยวชาญให้บริการ ใครสนใจทำการตลาดแบบ Influencer Marketing ติดต่อเรามาได้เลย