ยาวไปอยากเลือกอ่าน
Toggleอยากมีแบรนด์ต้องรู้! Persona คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการสร้างแบรนด์ ทำไมเราถึงควรสร้างผู้ใช้จำลองในการทำการตลาด
ในการทำการตลาด สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การทำความเข้าใจผู้บริโภค และวิเคราะห์ว่าตัวตนของผู้ซื้อนั้นเป็นอย่างไร เพื่อแบรนด์จะได้ผลิตสินค้าและโฆษณาให้ตรงตามความต้องการของบรรดาผู้บริโภค นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เราเข้าใจอีกว่าผู้บริโภคมีแรงบันดาลใจหรือแรงขับเคลื่อนอะไรในการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการทำความเข้าใจเหล่านี้เราจะเรียกว่า การสร้าง Brand Persona
Persona คือ การจำลองบุคลิกของกลุ่มเป้าหมายหรือการสร้างต้นแบบให้เป็นตัวแทนของกลุ่มลูกค้าของธุรกิจเรา เพื่อตีกรอบเป้าหมายหรือกลุ่มคนที่จะเข้ามาเป็นลูกค้าของเรา ซึ่งคำนี้สามารถเรียกได้หลายชื่อทั้ง Customer Persona, Persona Target, Brand Persona หรือ Buyer Persona ก็ได้ เพราะทั้งหมดนั้นมีความหมายเดียวกัน
โดยการจำลอง Persona Target ขึ้นมาสักคนหนึ่งนั้น เราจะต้องอ้างอิงข้อมูลจากการทำ Research หรือข้อมูลที่ได้จาก Data Analytics ต่างๆ มาเป็นตัวกำหนด เพื่อที่จะได้รู้ว่ากลุ่มคนที่เป็นลูกค้าส่วนใหญ่ของเราจะเป็นกลุ่มคนประมาณไหน ต้องการสินค้าอะไรเพื่อมาตอบโจทย์ และมีพฤติกรรมการซื้อของอย่างไร
การเก็บข้อมูล Brand Persona นี้ จึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญอย่างมากในการทำกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะทำให้แบรนด์หรือธุรกิจสามารถเห็นภาพที่ชัดเจน ส่งผลให้ข้อมูลต่างๆ หรือโฆษณาของแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารนั้นสามารถสื่อสารได้อย่างตรงจุด ตรงเวลา และตรงเป้าหมาย
ทำไม Persona ถึงเป็นเครื่องมือทรงพลังสำหรับนักการตลาด? ค้นพบกุญแจสำคัญในการตลาด: Persona มีอะไรบ้าง?
เพราะการทำแผนการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายนี้จะช่วยให้เรากำหนดทิศทางของการทำแบรนด์และการทำโฆษณาได้ถูกต้อง เข้าใจภาพรวมได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าที่แบรนด์สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างชัดเจน และสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด
และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่เพียงการสร้าง Persona Target ของลูกค้าเท่านั้นที่สำคัญ แต่แบรนด์และธุรกิจต่างๆ เองก็ควรวาง Brand Persona ของตัวเองไว้ด้วย เพื่อวางแผนทิศทางการตลาดว่าจะเป็นอย่างไรหรือใช้ภาษาในการสื่อสารแบบใด เพื่อง่ายต่อการพัฒนาและทำการตลาดนั่นเอง
โดยสิ่งนี้จะประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้แบรนด์เรารู้จักและเห็นภาพได้ชัดว่าลูกค้าเป็นคนแบบไหนมากขึ้น อย่างเช่นมีช่วงอายุเท่าไร มีความชื่นชอบอะไร ชอบเสพสื่อหรือคอนเทนต์แบบไหน พฤติกรรมในชีวิตประจำวันเป็นอย่างไร อุปสรรคหรือปัญหาที่กำลังเผชิญจะแก้ไขอย่างไร หรือความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างไร ฯลฯ
แต่หลักๆ แล้ว Persona จะประกอบไปด้วย
- ชื่อ : ที่เราตั้งชื่อเป็นตัวแทนกลุ่มเป้าหมายขึ้นมา
- ทัศนคดิ : ประโยคสั้นๆ ที่สามารถแสดงถึงทัศนคติของคนนี้ว่าเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้เข้าใจความคิดหลักๆ ของกลุ่มลูกค้า
- อาชีพ : ช่วยให้เราได้รู้จักภาพลักษณ์ว่ากลุ่มเป้าหมายเรานั้นทำงานอะไรหรือตำแหน่งนั้นเป็นใคร
- ที่อยู่ : สิ่งนี้จะทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าจะสื่อสารไปยังที่ไหน บริเวณใด รวมไปถึงสามารถรู้ได้ว่าพื้นเพของเขาเป็นอย่างไร
- อายุ : เราจะได้รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่นั้นจะกลุ่มคนอายุเท่าไหร่
- สถานะ : เพราะแน่นอนว่าความคิดของคนโสด แต่งงาน และหย่าร้างนั้นย่อมมีความแตกต่างกัน หากเราเข้าใจถึงสิ่งนี้เราก็จะสามารถทำแบรนด์ได้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า
- การศึกษา : สิ่งนี้จะทำให้รู้ว่าแบรนด์จะต้องสื่อสารอย่างไรให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย
- รายได้ : สิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถรู้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเรามีกำลังซื้อมากน้อยแค่ไหน
- ความสนใจ : สิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถหาจุดสื่อสารมาได้อย่างตรงจุด
- ชีวิตประจำวัน : เราจะรู้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเรานั้นเจอกับสินค้าและบริการของเราได้อย่างไร
- พฤติกรรม : หากเราเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่ม Persona Target ว่าเป็นคนอย่างไร เราก็จะสามารถทำคอนเทนต์ได้ตอบโจทย์ผู้บริโภค
- ปัญหา : เราจะเข้าใจถึง Pain point ของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ แล้วเราจะสามารถสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลในการทำ Persona ที่เราควรจะมี เพื่อให้เราสามารถทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
Persona ตัวอย่าง: แนวทางใหม่ในการเข้าถึงลูกค้าของคุณ ปูทางสู่ความสำเร็จในการตลาดยุคใหม่
ในการทำ Brand Persona นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างแบบทั่วไป (General Template) ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั่วไปในสายธุรกิจ การตลาด และการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือจะเป็นตัวอย่างที่เน้นทำความเข้าใจนิสัยและรสนิยม เช่น หากแบรนด์เราทำธุรกิจขายหนังสือ เราควรเข้าใจพฤติกรรมและนิสัยการอ่าน รวมไปถึงแพลตฟอร์มหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่าน เพื่อออกแบบสินค้าและทำการโปรโมตแบรนด์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
รวมไปถึงตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้เฉพาะด้าน หรือ Persona ตัวอย่างที่เน้นนำเสนอภูมิหลังของลูกค้าและแรงจูงใจในการซื้อสินค้า เพื่อทำให้แบรนด์เข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน หากแบรนด์ทำตัวอย่างเหล่านี้ก็จะช่วยตอบโจทย์แบรนด์ในการทำการตลาดแน่นอน
และอย่างที่เป็นที่รู้กันว่า Persona มีความสำคัญต่อการทำการตลาดและการทำธุรกิจทุกประเภท เพราะนอกจากจะช่วยให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมของกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มในการเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าได้แล้ว ตัวอย่างนี้ยังมีประโยชน์อื่นๆ อย่างทำให้รู้จักและเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น จนสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน อย่างสื่อสารได้อย่างตรงจุด ต่อยอดการสร้าง Customer Journey ได้ง่ายขึ้น และช่วยทำให้ทำการตลาดแบบ Niche Marketing ได้เป็นอย่างดี
Persona จึงสิ่งจำเป็นที่แบรนด์สามารถใช้ทำความเข้าใจลูกค้า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ พร้อมกับใช้เพื่อสื่อสารกับทีมให้เห็นภาพลูกค้าที่ตรงกันได้อย่างชัดเจน ใช้ในการวางแผนการตลาด วางกลยุทธ์คอนเทนต์ ใช้ปรับปรุงประสบการณ์หรือยกระดับการใช้ช่องทางต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น สำหรับธุรกิจไหนที่ต้องการทำความเข้าใจลูกค้าในเชิงลึก HelloAds ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมวางแผนการตลาดให้กับคุณ สำหรับใครที่ต้องการคำปรึกษาหรือสนใจทำการตลาดออนไลน์กับเรา สามารถติดต่อ HelloAds เพื่อสอบถามข้อมูลได้เลย
แหล่งอ้างอิง
https://buffer.com/library/marketing-personas-beginners-guide/