fandom-influencer-market

แบรนด์ต้องจับตา! ‘ตลาดแฟนด้อม’ กลุ่มผู้บริโภคผู้มีอิทธิพลกับ Influencer Marketing

Influencer Marketing คือกลยุทธ์มาแรงจากอิทธิพลของตลาดแฟนด้อม

เรียกได้ว่าในปัจจุบัน Influencer Marketing คือกลยุทธ์ที่มาแรงสุดๆ ไม่ว่าจะแบรนด์ไหน ธุรกิจอะไรต่างก็หันมาใช้กลยุทธ์นี้ในการทำการตลาดทั้งนั้น โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ซีรีส์ LGBTQ+ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก 

สิ่งนี้ทำให้มีอินฟลูเอนเซอร์จำนวนมากเกิดขึ้นมา ไม่ใช่แค่ดาราและศิลปินเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มผู้บริโภค แต่รวมไปถึงกลุ่ม KOLs ที่มียอดผู้ติดตามสูงอีกด้วย แล้วสำหรับแบรนด์ควรตัดสินใจอย่างไรในการเลือกอินฟลูเอนเซอร์มาช่วยโฆษณาสินค้าและบริการดี แบรนด์อาจตัดสินใจจากพฤติกรรมการโพสต์ของอินฟลูเอนเซอร์คนนั้นๆ เพราะพฤติกรรมนี้จะส่งผลต่อยอดจำนวนการคลิก และ Conversions (จำนวนยอดขายหรือการเปลี่ยนจากกลุ่มคนที่จะซื้อสินค้ามาเป็นลูกค้าจริงของแบรนด์) รวมทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้าง Brand Awareness อีกด้วย

แต่จากผลสำรวจ พบว่าประเทศไทยในปัจจุบัน Influencer Marketing ได้รับอิทธิพลมาจากตลาดแฟนด้อมมากที่สุด เพราะรากฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่น และความภักดีของแฟนคลับต่ออินฟลูเอนเซอร์นั้นๆ นั่นเอง โดยยิ่งฐานแฟนคลับของอินฟลูเอนเซอร์มีมากเพียงใด แบรนด์ก็จะได้รับผลประโยชน์มากเท่านั้น 

ด้วยเหตุนี้ Influencer Marketing จึงกลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพในการดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมาก รวมไปถึงสร้างภาพลักษณ์ในแง่บวกให้กับแบรนด์อีกด้วย

 

ทำความเข้าใจ 3 Insights หลักของตลาดแฟนด้อม กลุ่มผู้บริโภคที่ช่วยให้ตลาดอินฟลูเอนเซอร์มาแรง

จากการสำรวจพบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นแฟนคลับมักจะแสดงความหลงใหลและชื่นชมไอดอลของพวกเขา โดยเริ่มจากการติดตามผ่านโซเซียลมีเดีย โพสต์ชื่นชมโมเมนต์ต่างๆ ในออนไลน์จนเป็นกระแสโด่งดัง เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงการซื้อของตามที่เหล่าไอดอลใช้หรือที่พวกเขาเป็นพรีเซนเตอร์

แน่นอนว่าในปัจจุบันทุกคนคงเห็นด้วยว่าอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ คู่จิ้นสุดเรียล ในซีรีส์และภาพยนตร์ต่างๆ เพราะอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้ถือว่ามีฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่นและกว้างขวางมากขึ้น เห็นได้จากแฮชแทกที่ปรากฎขึ้นมาในแต่ละวันผ่านแพลตฟอร์มดังอย่างทวิตเตอร์

ทำให้มีหลายแบรนด์สนใจและทำแคมเปญการตลาดร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้มากขึ้น แต่แบรนด์จะได้เปรียบยิ่งกว่า หากเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มแฟนคลับ วันนี้เราเลยจะมาส่อง Insights ของผู้บริโภคกลุ่มนี้ นั่นก็คือ

  • วัฒนธรรมคู่จิ้น: ถ้าใครอยู่ในกลุ่มตลาดแฟนด้อม คงคุ้นเคยกับวัฒนธรรมคู่จิ้นเป็นอย่างดี เพราะการเริ่มต้นติดตามอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้นั้น มาจากความชื่นชอบในเคมีที่เข้ากันของนักแสดงในผลงานซีรีส์และภาพบนตร์ต่างๆ รวมไปถึงโมเมนต์ Relationship นอกจอต่างๆ ของพวกเขา จนทำให้อินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้มีรากฐานแฟนคลับที่มั่นคง และขยายความนิยมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากแบรนด์ร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสทำให้กิจกรรมการตลาดของแบรนด์ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่นนั่นเอง
  • ความภักดีอันเหนียวแน่น แม้ผลงานจะจบแล้ว: กลุ่มแฟนคลับกลุ่มนี้จะมีการแสดงความรักและความชื่นชอบต่ออินฟลูเอนเซอร์อย่างเหนียวแน่นและภักดีสุดๆ พวกเขามีการติดตามและสนับสนุนในทุกๆ ด้านแม้ผลงานการแสดงจะจบลงไปแล้วก็ตาม กลุ่มแฟนคลับจะภูมิใจในความสำเร็จของอินฟลูเอนเซอร์ที่พวกเขาชื่นชอบอยู่เสมอ พวกเขาจึงยินดีที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่มีการร่วมงานกันกับอินฟลูเอนเซอร์ รวมทั้งซื้อสินค้าหรือบริการ และให้ความร่วมมือกับกิจกรรมการตลาดทุกชนิด
  • กิจกรรมการตลาดบนฐานความภักดีที่มีต่ออินฟลูเอนเซอร์: เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์เริ่มเข้ามามีบทบามสำคัญในการกระตุ้นยอดขาย และเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ และการที่แบรนด์ได้รับผลประโยชน์อย่างคาดไม่ถึงในหลายๆ ด้าน ส่วนหนึ่งก็เพราะความภักดีของแฟนคลับนั่นเอง ดังนั้น ถ้าแบรนด์ยิ่งจัดกิจกรรมการตลาดที่ทำให้กลุ่มแฟนคลับได้สิทธิพิเศษในการพูดคุย ใกล้ชิด และได้ทำกิจกรรมร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีกระแสตอบรับที่ดีมากขึ้นเท่านั้น 

ดังนั้น ถ้าแบรนด์รู้จัก Insights ทั้ง 3 ข้อนี้ก็สามารถทำแคมเปญโฆษณาที่ดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้อย่างง่ายดาย และสามารถสร้างรายได้ผ่าน Influencer Marketing ได้ไม่ยาก

 

ตลาดแฟนด้อม ตลาดของกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่มาแรงจนแบรนด์ต้องหันมามอง

จากสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือฮิลล์ อาเซียน คลังสมองทางวิชาการซึ่งก่อตั้งโดยกลุ่มฮาคูโฮโด ประเทศญี่ปุ่น ได้เผยข้อมูลผลการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มแฟนด้อมในอาเซียนแล้วได้ให้คำจำกัดความของแฟนด้อมว่าเป็นกลุ่มผู้คนที่มีความหลงใหลชื่นชอบในตัวบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นศิลปินไอดอล การ์ตูน กีฬา งานอดิเรกต่างๆ อีกทั้งยังรวมไปถึงอาณาจักรหรือวัฒนธรรมของกลุ่มคนคอเดียวกันมารวมตัวกันด้วยความชอบใดความชอบหนึ่งนั่นเอง

ปัจจุบันในอาเซียนได้มีสมาชิกกลุ่มแฟนด้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลหลากรูปแบบอย่างเช่น มีเวลาว่างอยู่บ้านในช่วงโควิด 19 หรือเกิดความชอบหลังจากดูซีรีส์จบ เป็นต้น และงานวิจัยยังชี้ให้เห็นอีกว่า ผู้บริโภคกลุ่มนี้ไม่เพียงมีความหลงใหลในสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบเท่านั้น แต่ยังชอบใช้เวลาแบ่งปันความสุขนี้กับเพื่อนๆ อีกด้วย ซึ่งสิ่งนี้ช่วยให้เกิดอาณาจักรแฟนด้อมที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมา

จากการวิเคราะห์พบว่า ผู้บริโภคกลุ่มนี้ไม่ได้มารวมตัวกันแค่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือคลายเครียดเท่านั้น แต่ยังเป็นการรวมตัวกันเพื่อเติมเต็มคุณค่าในตนเอง ด้วยการแสวงหาแง่มุมใหม่ๆ ให้กับชีวิตอีกด้วย นอกจากนี้ ฮิลล์ อาเซียน ยังพบอีกว่ากลุ่มแฟนด้อมจะมีความรู้สึกเชื่อมโยงผูกพันกัน เสมือนเป็นคนในครอบครัว ดังนั้นพวกเขาจะคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน 

ส่วนสถิติพบว่า ฟุตบอล ซีรีส์ ยูทูบ กลุ่มศิลปินไอดอล K-POP ภาพยนตร์ไซไฟ และแบรนด์เทคโนโลยีต่างๆ เป็นกลุ่มที่มีแฟนด้อมเยอะที่สุด โดย 3 อันดับแรกที่ผู้คนในแถบอาเซียนคลั่งไคล้มากที่สุดคือ K-POP เกม และการทำอาหาร สำหรับในประเทศญี่ปุ่นนั้น แฟนด้อม 3 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ J-POP การ์ตูนมังงะหรือแอนิเมชัน และเกม ซึ่งเมื่อเทียบกับอาเซียนแล้วจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีการผลิตคอนเทนต์มหาศาลภายในประเทศ ขณะที่อาเซียนจะได้รับอิทธิพลจากคอนเทนต์ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่

จากการวิจัยและเจาะลึกพฤติกรรมแฟนด้อมนี้ แบรนด์ต่างๆ สามารถนำผลลัพธ์นี้ไปปรับแต่งในแคมเปญการตลาด เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้นนั่นเอง

 

Direct To Fan Marketing การตลาดแบบใหม่ที่เข้าถึงกลุ่มแฟนคลับได้ดีกว่าเดิม

ด้วยโลกของเราได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เข้าติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้นผ่านโลกโซเชียล ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มกลุ่มแฟนคลับได้ง่ายขึ้น โดยใช้เทรนด์ Direct To Fan Marketing 

การตลาดแบบ Direct To Fan Marketing มีจุดเริ่มต้นมาจากโมเดลธุรกิจ Direct To Fan ที่กลุ่มศิลปินที่ไม่ได้สังกัดค่ายเพลงและนักดนตรีอิสระใช้ เพื่อติดต่อสื่อสารกับแฟนคลับโดยตรง ช่วยให้แฟนคลับเป็นส่วนหนึ่งของศิลปินในด้านต่างๆ ซึ่งนักการตลาดมองว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่ช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น ผ่านศิลปินที่มีคาแรกเตอร์ตรงกับสินค้า เช่น สกินแคร์ สินค้าไอที อาหารเสริม หรือขนมขบเคี้ยวต่างๆ เพราะแฟนคลับเหล่านี้พร้อมจะซื้อสินค้าที่ศิลปินเหล่านั้นได้แนะนำ อีกทั้งยังสร้าง Consumer Engagement ได้อีกด้วย

ในยุคที่อินฟลูเอนเซอร์ฮิตแบบนี้ Direct To Fan Marketing ก็ได้มีอิทธิพลส่งต่ออินฟลูเอนเซอร์ทุกกลุ่ม ส่งผลให้กลยุทธ์นี้แพร่หลายในปัจจุบันนี้นั่นเอง

โดยสถิติได้เผยว่า 40% ของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาพร้อมจ่ายเงินให้กับศิลปินและเกมเมอร์ หากมีกิจกรรมการพบปะแบบ Fan Meet เสมือนจริง และ 49% พร้อมจ่ายให้อินฟลูเอนเซอร์โดยเฉลี่ย 25 ดอลลาร์ต่อเดือนหรือประมาณ 750 บาทต่อเดือน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม Gen Z และ Millennials (Gen Y) เป็นหลัก และมีจำนวนมากถึง 72%

ด้วยเหตุนี้ หากแบรนด์เข้าใจและอยากดึงดูดให้ผู้บริโภคนี้กลุ่มนี้มีส่วนร่วมกับแบรนด์ จนสามารถเพิ่มยอดขายและมีชื่อเสียงในธุรกิจด้วยกันนั่นเอง 

หากใครที่สนใจเจาะตลาดกลุ่มแฟนคลับอย่างนี้ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถาม HelloAds เอเจนซีรับทำการตลาดออนไลน์แบบครบวงจรกันได้เลย

ติดต่อขอคำปรึกษาฟรี! ให้เราช่วยธุรกิจของคุณ ให้ลูกค้ารู้จักคุณ

เพิ่มยอดขาย ก้าวสู่การตลาดในโลกออนไลน์ เพราะเรามั่นใจ ว่าเราจะช่วยให้ธุรกิจคุณ เติบโตบนโลกดิจิตอลได้อย่างแท้จริง

Share this post

บทความที่เกี่ยวข้อง