ในช่วงขึ้นปีใหม่อย่างนี้ ทุกคนรอคอยอะไรกันบ้าง บางคนน่าจะรอคอยกับแคมเปญ หรือสินค้าและบริการใหม่ๆ แต่สำหรับนักการตลาดแล้ว คงรอคอยข้อมูลเชิงลึกจาก We Are Social หนึ่งในแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการสื่อสังคมออนไลน์
ซึ่งในปีนี้ทางแพลตฟอร์มได้เผยแพร่สถิติข้อมูลพฤติกรรมออนไลน์สำคัญ Thailand Digital Stat Insight 2023 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าปีใหม่นี้ ประเทศไทยมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างและน่าสนใจแค่ไหน เพื่อรวมรวบข้อมูลไปพัฒนาธุรกิจ จนสามารถนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ ทางการตลาด
พร้อมแล้วมาดูสรุปข้อมูลเด็ดกันเลย
- ทุกวันนี้ ความเจริญในโลกของเราอยู่กระจุกภายในตัวเมืองเหมือนเดิม ไม่ได้กระจายออกไปอยู่นอกเมืองอย่างที่เคยเชื่อกันว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากโควิด19 ระบาด สิ่งนี้อาจส่งผลต่อ Mega City จนทำให้เกิดความท้าทายในการพัฒนาเมืองนั่นเอง
- ส่วนอัตราการเพิ่มของประชากรโลกนั้น เริ่มต่ำกว่า 1% มาตั้งแต่ปี 2021 อย่างในประเทศไทย มีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรจากปีก่อนแค่ 0.2% เท่านั้น ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยอายุคนไทยของปี 2023 อยู่ที่ 40.1 ปี ซึ่งปัจจุบันนี้ ทั่วโลกได้อยู่ในยุคสังคมผู้สูงวัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งนี้ทำให้นักการตลาดอาจจะหากลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ยากกว่ากลุ่มผู้ใหญ่หัวใจวัยรุ่น
- เมื่อหารเฉลี่ยต่อคนแล้ว GDP หรือผลผลิตมวลรวมภายในประเทศไทยจะอยู่ที่เกือบ 700,000 บาท แม้ว่าในความเป็นจริง คนไทยส่วนใหญ่จะมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 60,000 บาทก็ตาม ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมนั่นเอง
- ประชากรชาวไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 85.3% เรียกได้ว่าเป็นความเจริญทางออนไลน์ หรือ Digitalization ที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ สิ่งนี้ทำให้ธุรกิจต่างๆ อาจจะต้องรีบทุ่มเทเปิดช่องทางการขายผ่านโลกออนไลน์ เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าและกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนชั่วโมงออนไลน์ของชาวไทยลดลงจากปีก่อน เหลือ 8 ชั่วโมง 6 นาที จาก 9 ชั่วโมง 6 นาที ทำให้นักการตลาดอาจทำคิดหาวิธีที่ทำให้แบรนด์ของเราปรากฎอยู่เสมอ
- คนไทยที่มีมือถือทั้งหมดโดยเฉลี่ยแล้วเล่นอินเทอร์เน็ตถึง 95.3% ถือได้ว่าเกือบทุกคนที่เล่นอินเทอร์เน็ตเลยทีเดียว และการที่ชาวไทยใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือนี้คิดเป็นอันดับ 4 ของโลก ในขณะที่คนไทยเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์น้อยกว่าค่าเฉลี่ยโลก ซึ่งอยู่ที่ 47.6% ดังนั้น เวลานักการตลาดจะทำคอนเทนต์ อาจจะต้องคำนึงถึงหน้าจอมือถือเป็นหลัก
- เหตุผลในการออนไลน์ของคนไทย 5 อันดับแรก คือ ใช้ในการค้นหาข้อมูล 57.8% ติดต่อกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว 53.7% ติดตามข่าวสาร 50.9% ดูวิดีโอ หนัง หรือรายการทีวี 49.7% และหาข้อมูลวิธีทำอะไรสักอย่าง 47.6% ส่วนการหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือแบรนด์ที่กำลังสนใจของคนไทยนั้นอยู่ที่ 43.4% ส่วนเหตุผลในการเข้าเว็บหรือแอปของคนไทย 5 อันดับแรก คือ ใช้ในการแชท 94.8% ใช้เล่นโซเชียลมีเดีย 94.6% ใช้ค้นหาใน Google 81.8% ใช้ชอปปิงออนไลน์ 76% และใช้ดูแผนที่ 55%
- 34.8% ของคนไทยใช้การถ่ายรูปหรืออัปโหลดภาพเพื่อหาข้อมูลแทนการพิมพ์ มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ 28.4% เนื่องจากเทคโนโลยีนี้นิยมกันในหมู่คนอายุน้อยโดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งใช้กันในสายชอปปิงออนไลน์ และเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์
- กว่า 95.4% ของคนไทยดูรายการทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตหรือแอปพลิเคชันต่างๆ นอกจากนี้ คนไทยยังฟังเพลงออนไลน์ถึง 36.9% นั่นหมายความว่าการทำโฆษณาผ่านแอปต่างๆ จะสามารถเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มองข้ามไม่ได้
- คนไทย 21.8% นิยมฟัง Podcast ซึ่งถือว่ามากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อยที่อยู่ที่ 21.2% ดังนั้น หากใครสนใจลงทุนใน Podcast อาจต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายและ Strategy เพิ่มเติมว่าคุ้มค่าหรือไม่
- คนไทยเล่นเกมสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก จากสถิติจะเห็นได้ว่ามีคนจำนวนมากกว่า 92.3% จากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมดเล่นเกม เรียกได้ว่าการตลาดผ่าน Esport หรือเกมออนไลน์นั้น ถือเป็นช่องทางหลักในการโปรโมตแบรนด์ให้เข้าถึงผู้คนจำนวนมาก
- ตลาดอุปกรณ์ Smart Home บ้านอัจฉริยะจาก IoT ในประเทศไทยนั้นมีผู้ใช้งานเพียงแค่ 6.7% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่านั้น โดยมีอุปกรณ์ Smart Home ภายในบ้านแค่ 12.9% เท่านั้น แต่ในอนาคตยังมีโอกาสที่ตลาดนี้เติบโตอยู่อย่างมหาศาล
- คนไทยใช้ QR Code ติดอันดับ 5 ของโลก สูงถึง 54.1% จากการสแกนจ่ายเงินในชีวิตประจำวัน แต่กลับกันมีคนไทยแค่ 30.5% เท่านั้นที่ทำธุรกรรมทางการเงินบนออนไลน์หรือผ่านแอปมือถือ ไม่ว่าจะเป็นการทำบัญชี การลงทุน หรือการซื้อประกัน
- คนไทยถือครองคริปโตเป็นอันดับ 4 ของโลก มีสัดส่วนผู้ใช้มากถึง 21.9% แต่โดยเฉลี่ยคนไทยถือคริปโตแค่ 2,500 บาทเท่านั้น ส่วนคนไทยถือครองชิ้นงาน NFT โดยเฉลี่ยเป็นมูลค่าแค่ 595 บาท
- คนไทย 15.8% หาหมอออนไลน์ โดยใช้บริการพบหมอออนไลน์ทุกสัปดาห์ เนื่องจากผลกระทบจากโควิด 19 แต่ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่อยู่ที่ 24.9% แต่ก็ยังมีโอกาสที่ธุรกิจด้านนี้จะเติบโตอีกมาก
- คนไทยกังวลเรื่อง Privacy และ PDPA เพียงแค่ 27.3% เท่านั้น ถือว่ายังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 32.2% ในขณะเดียวกันก็มีคนไทยมากถึง 23.6% ที่ใช้ VPN เพื่อปกปิดตัวตนบนออนไลน์ ในขณะเดียวกันคนไทยใส่ใจเรื่อง Fake News เป็นอันดับ 9 ของโลก นับเป็นกว่า 62.3%
จากข้อมูลเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการใช้งานในโลกออนไลน์ของคนไทยเปลี่ยนไป ซึ่งสอดคล้องกับผู้คนทั่วโลก ดังนั้นหากแบรนด์หรือนักการตลาดสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ก็จะช่วยให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น สำหรับใครที่สนใจทำการตลาดออนไลน์สามารถติดต่อ HelloAds เอเจนซีการตลาดออนไลน์แบบครบวงจรมาได้เลย