eMarketplace: ความเป็นไปได้และความท้าทายของธุรกิจ eCommerce ในยุคดิจิทัล

ใน 2 ปีที่แล้ว ตามรายงานของ Online Marketplaces Report ประจำปี 2021 ได้เผยมูลค่าการขายสินค้าผ่าน eMarketplace ทั่วโลกในปี 2020 ว่าอยู่ที่ 2.67 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็น 62.5% ของการขายสินค้าออนไลน์ทั้งหมด และเพิ่มขึ้น 29% เมื่อเทียบกับปีก่อน

และในปี 2022 ตลาดออนไลน์ชั้นนำทั่วโลกขายสินค้าได้มากกว่า 3.25 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 2.9% จากปีที่แล้ว โดยยอดขายส่วนใหญ่มาจาก eMarketplace อย่าง Alibaba, Amazon, eBay และอื่นๆ อีก 

ตัวเลขนี้แสดงถึงความน่าสนใจของตลาด eMarketplace ที่เป็นแพลตฟอร์มชอปปิงออนไลน์ เพราะในปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคมักให้ความสนใจกับการซื้อสินค้าออนไลน์เป็นจำนวนมาก และในทางธุรกิจ ยอดขายของทางแบรนด์ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

 

ยาวไปอยากเลือกอ่าน

eMarketplace เป็นอย่างไร ทำไมต้องให้ความสำคัญ ?

eMarketplace คือ ตลาดที่ผู้ซื้อกับผู้ขายมาพบกันบนโลกออนไลน์ เพื่อซื้อขายสินค้าและบริการ ไม่ว่าใครอยากซื้ออะไร หรืออยากขายอะไร เพียงแค่แวะไปที่เดียวก็ตอบโจทย์ เพราะ eMarketplace เป็นเหมือนตลาดนัดขนาดใหญ่ ที่สามารถเพิ่มโอกาสการเจอลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ส่งผลให้การซื้อขายสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แต่เนื่องจาก eMarketplace เป็นตลาดขนาดใหญ่ จึงทำให้มีคู่แข่งทางการค้าที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันค่อนข้างมาก ผู้ขายจึงต้องมีกลยุทธ์ในการทำให้ร้านค้าปรากฏให้ลูกค้าเห็นก่อนร้านค้าอื่นในลักษณะเดียวกัน ซึ่งอาจจะทำเป็น Ads หรือ Content เพื่อดึงดูดลูกค้าเพิ่มเติมนั่นเอง

ส่วน eMarketplace ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ในประเทศไทย มีดังนี้

  1. Shopee เป็นแพลตฟอร์มที่มีระบบ LiveChat ที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถแชทติดต่อกับผู้ขายได้โดยตรง และ Shopee ยังมีการทำการตลาดให้กับผู้ขายบนแพลตฟอร์ม โดยมีการแจกโปรโมชันส่วนลดต่างๆ และมีการมอบคูปองส่วนลดค่อนข้างบ่อย ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำหรับทางแบรนด์ในการดึงดูดลูกค้า
  2. Lazada เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นกลุ่มเป้าหมายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบัน Lazada มีการเติบโตค่อนข้างสูง มีผู้ค้าขายออนไลน์มากกว่า 100,000 ร้าน และมี Lazada University คอยสอนวิธีการใช้งานในแพลตฟอร์ม ให้ผู้ขายมีฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. JD Central เป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเร็วที่สุด ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องของการการันตีแบรนด์สินค้าว่าเป็นของแท้ 100% ทำให้แบรนด์สามารถรักษายอด Budget Size และเพิ่มความถี่ของฐานลูกค้าในแพลตฟอร์มได้ไม่ยาก

ทั้ง 3 แพลตฟอร์มมีจุดเด่นที่น่าสนใจแตกต่างกัน สำหรับแบรนด์ไหนที่กำลังมองหาตัวช่วยจัดการธุรกิจ eCommerce ใน eMarketplace เราขอแนะนำบริการ eCommerce ของ HelloAds เลย รับรองได้ว่าธุรกิจออนไลน์ของคุณจะสามารถจัดการได้ง่ายมากขึ้นอย่างแน่นอน

 

การเติบโตของตลาด eCommerce หลังจากช่วง Covid – 19 

ตลาด eCommerce เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง Covid-19 ผู้บริโภคหันมาซื้อขายผ่านทางโลกออนไลน์มากขึ้น ซึ่งเติบโตกว่าช่วงก่อน Covid ถึง 80% และหลังจากช่วง Covid – 19 ตลาด eCommerce ในไทยก็ยังเติบโตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และจากสถิติ ประเทศไทยมีการใช้ Mobile Banking สูงที่สุดในโลก และมีการชำระเงินผ่านมือถือสูงที่สุดในโลก อันดับ 2 นั่นเอง ทำให้มีการคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ตลาด eCommerce จะเติบโตขึ้นปีละ 20% ยาวนานกว่า 5 ปี ซึ่งตลาดค้าปลีกออนไลน์ในปี 2025 จะมีสัดส่วนเป็น 16% ของตลาดค้าปลีกรวม 

จึงถือได้ว่าในประเทศไทยธุรกิจ eCommerce กลายเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูงมาก จากสรุปรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Google ปีที่ผ่านมาระบุว่าในประเทศไทยแพลตฟอร์มดิจิทัลมีแนวโน้มถูกใช้เพื่อจุดประสงค์เพื่อ eCommerce มากขึ้นถึง 23% และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยหลักจากนี้

ซึ่งปัจจุบันนี้ธุรกิจ eCommerce สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มนั่นก็คือ

  1. กลุ่ม Social Commerce – ปัจจุบัน Social Media หลายตัวได้เพิ่มฟังก์ชั่นสำหรับการขายสินค้า ทำให้ง่ายต่อแบรนด์และได้ข้อได้เปรียบในแง่ของมีฐานผู้ใช้งานเยอะ เข้าถึงได้ง่าย และกลมกลืนไปกับชีวิตประจำวัน อย่างเช่น Facebook Marketplace, Instagram Shop หรือ LINE Shopping
  2. กลุ่ม eMarketplace – แพลตฟอร์มที่รวมร้านค้าหลายแห่งไว้ในที่เดียว มีฐานผู้ใช้งานเยอะ ใช้งานง่าย และมีโปรโมชันสนับสนุนตลอดเวลา อย่าง Shopee, Lazada หรือ Kaidee
  3. กลุ่ม eTailer – ร้านค้าออนไลน์ที่ธุรกิจสร้างขึ้นมาเอง ไม่ผ่าน eMarketplace คนกลาง จึงไม่มีการถูกหักค่าคอมมิชชันเมื่อเราขายได้ เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการบริหารจัดการระบบเอง อย่าง Central, Tesco หรือ Power Buy
  4. กลุ่ม Quick Commerce – แพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายแบบรวดเร็วตามสั่ง ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหารออนไลน์หรือการซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อออนไลน์ก็ตาม อย่าง True Food, LINEMAN หรือ All-Online (7 eleven)

จากข้อมูลจากรายงาน Thailand Internet User Behavior 2022 ของ ETDA พบว่า ปัจจุบันในประเทศไทยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมากเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน e-Marketplace (75.99%) รองลงมาคือ Facebook (61.51%), เว็บไซต์ eTailer (39.7%), LINE (31.04%), Instagram (12.95%) และ Twitter (3.81%) 

ขณะที่ฝั่งผู้ขายสินค้ากลับเลือกใช้ Social Commerce อย่าง Facebook (66.76%) มากกว่า เนื่องจากมองว่าการขายสินค้าใน eMarketplace มีการแข่งขันด้านราคา สินค้าและโปรโมชันที่สูง และยังมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้แพลตฟอร์ม รองลงมาคือ eMarketplace (55.18%),  LINE (32.05%), Website (26.67%), Instagram (19.91%) และ Twitter (9.90%)

 

มารู้จักกับ 12 เทรนด์ eCommerce ที่น่าจับตามองในปี 2023

ปัจจุบันนี้ ธุรกิจ eCommerce ในประเทศไทยเรียกได้ว่าเข้าสู่การขายของออนไลน์เต็มรูปแบบ เพราะ Covid ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งในปีนี้แนวโน้มของ eCommerce ไทยมีความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านแพลตฟอร์มการให้บริการ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่นักการตลาดต้องเตรียมพร้อม นั่นก็คือ

 

เทรนด์ที่ 1 มูลค่าการค้าขายออนไลน์เพิ่มขึ้นอีกครั้ง เพราะการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

จากรายงานมูลค่า eCommerce ในช่วงปี 2020 โดย ETDA ตัวเลขจะลดลงประมาณ 6.68% ซึ่งมาจากผลกระทบของการท่องเที่ยว การเดินทาง สายการบิน และการผลิตต่างๆ และเมื่อประเทศไทยไทยกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งหนึ่งก็ทำให้ตัวเลข eCommerce เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด

 

เทรนด์ที่ 2 สงคราม eMarketplace กำลังจะจบลง

เพราะแพลตฟอร์มต่างๆ ใน eMarketplace ไม่ว่าจะเป็น Lazada หรือ Shopee ต่างก็กำลังเริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนโหมดตัวเอง โดยจากการใช้เงินลงทุนเพื่อให้ตัวเองเติบโต เป็นปรับเปลี่ยนตัวเองสู่ธุรกิจเพื่อทำกำไรมากยิ่งขึ้น อย่าง Lazada ในช่วงปี 2022-2023 ก็สามารถทำกำไรได้สำเร็จ เเละมีการใช้เงินในการทำการตลาดน้อยลงแล้วเริ่มโฟกัสที่การสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น 

 

เทรนด์ที่ 3 สินค้าจีนบุกตลาดไทยอย่างเต็มรูปแบบ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ให้บริการนำสินค้าจากจีนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ด้วย Infrastructure ของจีนเริ่มเชื่อมต่อเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ง่ายต่อการขนส่ง จนทำให้ผู้ผลิตผู้นำเข้าสินค้าจีนต่างยกขบวนมาตั้ง warehouse ในประเทศไทยและเริ่มใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางที่จะขายสินค้าตรง จากสินค้าใน Warehouse ในไทยตรงสู่ผู้บริโภค

 

เทรนด์ที่ 4 On-Demand Commerce สงครามการค้าออนไลน์รูปแบบใหม่กำลังก่อตัวขึ้น

On-Demand Commerce ซึ่งเป็นการแข่งขันการค้าลักษณะ Food Delivery ที่ต้องเริ่มเปลี่ยนตัวเองให้เป็นบริการที่มากกว่าอาหาร ปัจจุบันนี้ ผู้ให้บริการหลายรายมีการแข่งขันมากขึ้นในช่วงปีที่่ผ่านมา จากธุรกิจจัดส่งอาหาร หรือการเรียกรถ ก็จะมีบริการอื่นเช่น Grab Mart, Grab Home ด้วยเช่นกัน

 

เทรนด์ที่ 5 การบุกของ Digital Financial Service

Digital Financial Services คือบริการการเงินทางออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้ให้บริการเหล่านี้จะไม่ใช่ธนาคาร เช่น บริการรับชำระเงิน บริการกู้เงินทางออนไลน์ หรือ บริการโอนเงินออนไลน์ ซึ่งแนวโน้มการใช้บริการ Digital Financing เหล่านี้เริ่มมีการเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันให้ eCommerce ของประเทศไทยเติบโตมากขึ้นนั่นเอง

 

เทรนด์ที่ 6 สงคราม Short Video Commerce

ปัจจุบัน สงครามของ Short Video Commerce กำลังแข่งขันอย่างดุเดือด ไม่ว่าจะเป็น Tiktok, Youtube, Facebook, Instagram หรือแม้แต่ Line ต่างก็ลงมาเเข่งในวงการ Short Video เช่นเดียวกัน ดังนั้น กลยุทธ์จะไม่ได้ทำมาเพื่อให้บริการเฉพาะ Short Video เพียงอย่างเดียว แต่มีบริการอื่นของ eCommerce เช่นการเปิดร้านค้าเข้ามาเสริมด้วยเช่นเดียวกัน

 

เทรนด์ที่ 7 โฆษณาออนไลน์ที่มีทางเลือกมากขึ้น

ในหลายปีที่ผ่านมา โฆษณาออนไลน์ที่เป็นทางเลือกอันดับต้นๆ คือ Facebook ซึ่งปัจจุบันผู้โฆษณาหันไปทางเลือกอื่นเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุผลที่การโฆษณาผ่าน Facebook ประสบปัญหาของการได้ผลลัพธ์ที่น้อยลง ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Tiktok พัฒนารูปแบบการโฆษณาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี ส่งผลให้แบรนด์เริ่มเปลี่ยนไปลงโฆษณาผ่าน Tiktok เพิ่มมากขึ้น

 

เทรนด์ที่ 8 การตลาดผ่านการบอกต่อ หรือ Affiliate Marketing

Affiliate Marketing หรือ การตลาดผ่านการบอกต่อ กำลังเป็นเทรนด์ที่มีการเติบโต เพราะ Influencer ในช่องทางต่างๆ คนเริ่มมีฐานลูกค้าตัวเองมากขึ้น และมีช่องทางใน Social Media ที่ทำให้บรรดาอินฟลูเอนเซอร์สามารถบอกต่อสินค้าไปยังกลุ่มผู้ตนๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

เทรนด์ที่ 9 MarErce เมื่อ MarTech ผสานเข้ากับ eCommerce

MarErce คือ รูปเเบบการทำธุรกิจดิจิทัลที่มี eCommerce เข้ามาผสานกับ MarTech จากเมื่อก่อนที่นักทำการตลาดจะเน้นเรื่องการตลาด และคนค้าขายออนไลน์ใน eCommerce ก็จะเน้นเรื่องการขาย แต่ปัจจุบันจะไม่ใช่วิธีการเเบบเดิมอีกต่อไป ปัจจุบันนี้ Marketing กับ e-Commerce ถูกผสานรวมเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ ทำให้ตอนนี้ผู้ให้บริการด้าน MarTech ก็จะเริ่มมีแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่การทำการตลาดเท่านั้น แต่จะเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยทำให้เกิดออเดอร์ เกิดการซื้อขาย เเละเมื่อเกิดการขายแล้ว ทางฝั่ง MarTech จะเริ่มนำเทคโนโลยีย้อนกลับไปทำ CRM หรือ Retention เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำต่อไปอีกที 

 

เทรนด์ที่ 10 การแข่งขัน eCommerce ในแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่

แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่เริ่มแข่งขัน eCommerce อย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line หรือ Tiktok ต่างก็เริ่มมีแพลตฟอร์มที่รองรับเเละส่งเสริม eCommerce มากขึ้น ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้ากระโดดข้ามไปใช้บริการของคู่แข่งนั่นเอง

 

เทรนด์ที่ 11 การขาดดุลดิจิทัลของประเทศไทย

กรมสรรพากรได้ออกกฎหมายจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศเมื่อ 1 ก.ย. 2021 เเละจากข้อมูลล่าสุด มีผู้ให้บริการต่างชาติที่ขึ้นทะเบียนเเล้วจำนวน 127 ราย ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บสะสม 6 เดือน (ต.ค. 2021 – มี.ค. 2022) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,200 กว่าล้านบาท โดยมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเก็บได้ถึงเกือบหมื่นล้านเมื่อครบปี นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้มูลค่าการซื้อ-ขายบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของคนไทยอาจจะขึ้นไปสูงถึงเกือบๆ สองแสนล้านบาท ซึ่งสองแสนล้านบาทน่าจะเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการส่งออกข้าวในปี 2021 รวมถึงสูงกว่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปในปีเดียวกันด้วยเช่นกัน

 

เทรนด์ที่ 12 D2C (Direct to Consumer) จะฆ่าตัวกลางทางการค้า

ในช่วงปีที่แล้วและปีนี้ Direct to Customer หรือการขายตรงไปยังผู้บริโภค การตัดตัวกลางออกไปจากห่วงโซ่ เป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับโรงงานผู้ผลิตต่างๆ หลายปีที่ผ่านมา โรงงานเริ่มขายของออนไลน์มากขึ้น ขายตรงไปยังผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบให้ธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่นเริ่มถดถอย เพราะคนรุ่นใหม่เริ่มซื้อสินค้าจากร้านในท้องถิ่นน้อยลงและหันมาซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น ทำให้ในแง่ของธุรกิจท้องถิ่นจะมีผู้ที่เป็นตัวกลาง หมดโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าเพราะพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป

หากใครที่สนใจอยากเริ่มทำการตลาด แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถาม HelloAds เอเจนซีรับทำการตลาดออนไลน์แบบครบวงจรกันได้เลย

ติดต่อขอคำปรึกษาฟรี! ให้เราช่วยธุรกิจของคุณ ให้ลูกค้ารู้จักคุณ

เพิ่มยอดขาย ก้าวสู่การตลาดในโลกออนไลน์ เพราะเรามั่นใจ ว่าเราจะช่วยให้ธุรกิจคุณ เติบโตบนโลกดิจิตอลได้อย่างแท้จริง

Share this post

บทความที่เกี่ยวข้อง